วันหยุดสุดขีดของฉัน

วันหยุดสุดขีดของฉัน

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


กิจกรรมท้ายบทที่ 5
หัวข้อที่ 1 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
อาทิเช่น  การนำเอาข้อมูลของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต  หรือขโมยเอา  Passwords  ของคนอื่นมาเพื่อใช้กระทำกิจกรรมอะไรต่างๆที่ไม่ดี
หัวข้อที่ 2 อธิบายความหมาย
            Hacker คือ ผู้เชี่ยวชาญดานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆเป็นอย่างมาก สามารถถอดหรือเจาะเอารหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตัวเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตัวเอง
Cracker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญดานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆเป็นอย่างมาก สามารถถอดหรือเจาะเอารหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ ผู้บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมาย เพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว
Spam คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว และผิดกฎหมาย
Trojan คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่วๆไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้วก็จะเริ่มทำลายที่โปรแกรมมาทันที มักถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมล์ หรือ การดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ต
Spyware คือ โปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา เพื่อสร้างความรำคาญให้ผู้ใช้งาน เช่น หน้า Pop Up โฆษณา
หัวข้อที่ 3 ยกตัวอย่างกฎหมาย IT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ อธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ 5 ตัวอย่าง
          1: พฤติกรรม:     ใช้ user name/password ของผู้อื่น Log in เข้าสู่ระบบ
                ฐานความผิด:  มาตรา 5 ปรับไม่เกิน 10,000.- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
                ข้อแนะนำ:    ไม่ใช้ user/password ของผู้อื่น และห้ามไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ password ของตน
2. พฤติกรรม:     Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกก่อนาจาร
                 ฐานความผิด:   มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
                ข้อแนะนำ:     ไม่ forward email ที่ไม่เหมาะสม
3. พฤติกรรม:    โพสข้อความตามกระทู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร
                 ฐานความผิด:  มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
                 ข้อแนะนำ:     ใช้วิจารณญาณในการแสดงความคิดเห็น และคำนึงถึงผลที่จะตามมา
4. พฤติกรรม:    เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรืออับอาย
                ฐานความผิด:    มาตรา 16 ปรับไม่เกิน 60,000.- จำคุกไม่เกิน 3 ปี
          5. พฤติกรรม :  จากกรณีที่ตำรวจหลายหน่วยงานได้ร่วมกันจับ นายคธา ปาจาริยพงษ์ พนักงานบริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้ จำกัด น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ อายุ 43 ปี กรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และนายสมเจตน์ อิทธิวรกุล อายุ 38 ปี เจ้าของโต๊ะสนุ๊กเกอร์แห่งหนึ่งในชลบุรี ผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ได้ทำกระทำผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เรื่องการโพสต์ข้อความอันมิบังควรผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติและส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจรวมถึง ตลาดหุ้นไทย
           ล่าสุดตำรวจก็ได้เข้าจับกุม พญ.ทัศพร รัตน์วงศา อายุ 42 ปี แพทย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหากระทำความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหายปี 2550 ข้อหานำเข้าข้อมูลอื่นและเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงต่อประเทศ โดยมีพฤติกรรมไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ปล่อยข่าวให้เกิดความเสื่อมเสีย โดยผู้ต้องหายอมรับว่า เคยโพสข้อความมิบังควรลงในเว็บบอร์ดจริง
           ขณะนี้ทางตำรวจได้ยึดเอาคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหามาตรวจสอบ ว่าจะมีผู้ใดเกี่ยวข้องอีกบ้าง หากพบมีผู้เกี่ยวข้องก็จะออกหมายจับเพิ่มเติมต่อไป ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหาย ปี 2550 มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556



กิจกรรมท้ายบทที่ 4
หัวข้อที่ 1 ข้อดีและข้อเสียสื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท
1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable) เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว ใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps และส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่บิดเกลียวมี 2 ประเภท คือ
1. สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair; UTP)

ที่มารูป http://tulip.bu.ac.th/

2. สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair; STP)

ที่มารูป http://tulip.bu.ac.th/

ข้อดีข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
1.     มีราคาถูก
2.     ใช้งานง่ายมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3.     ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1.     ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2.     ระยะทางจำกัด


3.     สายโคแอกเชียซ์ล(Coaxial Cable) ประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลางหุ้มด้วย ฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่นแล้วหุ้มภายนอกอีกชิ้นหนึ่งด้วยฉนวน ใช้ในระบบโทรทัศน์ และวิทยุ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 ไมล์

ที่มารูป http://tulip.bu.ac.th/
ข้อดีข้อเสียของสายโคแอกเชียซ์ล
ข้อดี
1.     มีประสิทธิภาพ และความต้านทานต่อการรบกวนสูง
2.     สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
3.     สามารถส่งได้ทั้งเสียง สัญญาณวิดีโอ และข้อมูล
ข้อเสีย
1.     ราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
2.     ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาสูงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
3.     จำกัดจำนวนของการเชื่อมต่อ
4.     ระยะทางจำกัด

4.     สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองนี้จะมีดัชนี การสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปยัง อีกด้านหนึ่ง โดยที่ไม่ผ่านออกไปยังผิวด้านนอกของเส้นใยได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูล ที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งจำนวนมาก และในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้า รบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 ไมล์

                           
ที่มารูป http://tulip.bu.ac.th/

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้นำแสง
ข้อดี
1.     ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2.     ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น โรงพยาบาล สถานีโทรทัศน์
3.     ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1.     มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูล 2 แบบแรก
2.     ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้งมากกว่าสายส่งข้อมูลแบบอื่น ๆ
3.     มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า 2 แบบแรก

หัวข้อที่ 3 หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร

       1. แบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที




http://www.garethjmsaunders.co.uk/pc/images/network/star-topology.gif

ข้อดี
      1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
      2. เนื่องจากการรับ ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
      3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
      4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
      5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย


ข้อเสีย
      1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
      2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
      3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
      4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง




หัวข้อที่ 4 ข้อดีของอินเตอร์เน็ตกับการศักษาไทย


1.  เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online  

2.   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้  

3.   การเรียนแบบ online หรือE-libaray, E-learning  ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group 







วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมท้ายบทที่ 3 



ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3 วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
                เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
                1.1 การลงรหัส
                1.2 การตรวจสอบ
                1.3 การจำแนก
                1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
/2. ขั้นตอนการประมวลผล
                คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
2.1 การคำนวณ
2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
2.3 การสรุป
2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบ เอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

โครงสร้างข้อมูล
บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ,เลขฐาน 2 คือ 0,1
ไบต์(Byte) การนำตัวอักษรบิตมารวมกันเปป็นอักขระ เช่น ก ฮ โดย 8 Bit = 1 Byte
ฟิลด์(Field) การนำไบต์หลายๆไบต์รวมกัน เรียกว่าเขตข้อมูล
เรคอร์ด (Record) การนำฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกันเรียกว่า ระเบียน
ไฟล์ (File) การเรคอร์ดหลายๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) การนำไฟล์หลายๆไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล


ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงาน โรงพยาบาล
                โรงพยาบาลนำระบบการจัดการฐานข้อมูลมาใช้จัดเก็บข้อมูลเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ยกตัวอย่าง ฐานข้อมูลหน้างานตั้งแต่ผู้ป่วยก้าวเข้ามาในโรงพยาบาล โดยใช้ระบบสืบคืนประวัติผู้ป่วยที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลรวมไปถึงการบันทึกข้อมูลใหม่เพิ่มลงในฐานข้อมูลเวชระเบียน  เมื่อพบข้อมูลผู้ป่วยเจ้าหน้าที่จะนำส่งผู้ป่วยไปยังห้องตรวจเพื่อพบแพทย์ แพทย์จะทำการบันทึกข้อมูลประวัติการรักษาและประวัติการับยาลงในแฟ้มข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลจะถูกส่งไปยังห้องยาเพื่อให้ผู้ป่วยไปรับยาและกลับบ้าน  สิ้นสุดกระบวนการรับการรักษาแต่ข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มข้อมูลของแต่ละคนและถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล


ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบ Batch และแบบ Real Time
                การประมวลผลแบบ Batch เป็นการประมวลผลแบบกลุ่ม  ซึ่งรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆแล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ทำการประมวลผลครั้งเดียวและจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนการประมวลผลแบบ Real Time  นั้นเป็นการประมวลผลแบบเวลาจริง ซึ่งการประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีโดยแสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยผ่านทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่างๆ